รู้จักกับ บริษัท โพรแลค (ประเทศไทย) จำกัด

โรงงาน โพรแลค (ประเทศไทย) จํากัด โรงงานที่เป็นผู้นำในเรื่องการผลิตและแปรรูปสมุนไพรไทย ภายใต้แบรนโดกุดามิ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพทุกชนิด ปลอดสารเคมี ตั้งแต่การปลูกโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่ผลิตเอง ชีวภัณฑ์ปรับปรุงบำรุงดินจนถึงระบบการเก็บเกี่ยว และการแปรรูป ดำเนินการเองทั้งหมด เพื่อความมั่นใจในประสิทธิภาพว่าปลอดภัยอย่างแท้จริง

บริษัท โพรแลค (ประเทศไทย) ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม 2547 เพื่อดำเนินกิจการ ปลูก แปรรูป และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทย เป็นหลัก บริษัทฯ ดำเนินกิจการต่อจากบริษัท นอร์ทเทร์อน โพรไบโอติก จำกัด ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2545 ภายหลังเปลี่ยนมาทำหน้าที่ ทางด้านการจัดจำหน่าย เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท โกลบบอล เฮิร์บ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

เจตนารมณ์และเป้าหมายในการจัดตั้งและดำเนินกิจการ อันสืบเนื่องมาจาก ได้รับทราบแนวทางในการสร้างประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพแห่งเอเชีย เมื่อ 18 ปีก่อน และมองเห็นถึงความเป็นไปได้ที่ จะพัฒนาปรับปรุงการแพทย์แผนไทย และสมุนไพรไทย โดยการใช้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ มาอธิบายยาหม้อหรือยาแผนโบราณ เพื่อที่จะทำให้เป็นที่ยอมรับไม่แต่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น เป้าหมายยัง กำหนดที่จะส่งออกผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทย ไปจำหน่ายต่างประเทศอีกด้วย การพัฒนาต่อยอดเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในประเทศและต่างประเทศ จึงต้องมีเอกสารหลักฐานยืนยัน พิสูจน์ทราบใน ทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน จึงเป็นบทริเริ่มสร้างความร่วมมือกับนักวิจัยหลายคณะ หลายมหาวิทยาลัย ที่จะสามารถยอมรับนำพืชสมุนไพรไทยที่ผสมตามสูตรจนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นผลิตภัณฑ์ที่ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในระดับ พันธุวิศวกรรม ไบโอเทคโนโลยีและชีวเคมี

บนพื้นฐานแนวคิดด้านผลิตภัณฑ์ จำเป็นจะต้องทำให้บริสุทธิ์ตั้งแต่พื้นที่ปลูก ดินปลูก ไม่มีการใช้สารเคมีในพื้นที่ปลูกทั้งหมด ทั้งนอกแปลงและในแปลงปลูก จนเป็นที่มาของการได้รับการรับรองว่าแปลง พืชสมุนไพร ออแกนิค ระดับมาตรฐานสากลเป็นส่วนใหญ่ อาทิ USDA , JAS , EU , German , UK , Switzerland

ความสำเร็จในการสร้างสมุนไพรที่มีสัมฤทธิ์เชิงประจักษ์นั้น ต้องอาศัยงานวิจัยและพัฒนา โดยนักวิทยาศาสตร์และคณะจารย์ นักศึกษา ระดับ ป.โท ป.เอก หลายด้าน เช่น คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันวลัยรุขเวท มหาวิทยาลัยสารคาม และคณะอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การสนับ สนุนของสำนักงานกองทุนวิจัยไทย ( สกว.สำนักนายกรัฐมนตรี ) ในฐานะผู้ประกอบการ ตั้งโจทย์ความต้องการและความพร้อมในการผลิตในเชิงพาณิชย์และสามารถดำเนินการมากกว่า 20 โครงการ